กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค


ถ้าผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%) ให้ถือว่าเมาสุรา  และห้ามบุคคลดังต่อไปนี้ขับขี่ ในกรณีมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
(1) ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(3) ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
(4) ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่”

กรณีผู้ขับขี่ดื่มสุรา มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด และปฏิเสธไม่ยอมทดสอบหรือตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขับขี่ผู้นั้นเมาสุรา

หากฝ่าฝืนขับขี่ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 20,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ได้ และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาลได้ไม่เกิน 7 วัน

 ถ้าผู้ขับขี่เมาสุรา เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต่อร่างกาย หรือจิตใจ หรือถึงแก่ความตาย มีบทลงโทษดังต่อไปนี้





โทษจำคุก


โทษปรับ (บาท)


โทษอื่น


ใบอนุญาตขับขี่

ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ
1 – 5 ปี
20,000–100,000
หรือทั้งจำทั้งปรับ
พักใช้ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือเพิกถอน
ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส
2 – 6 ปี
40,000–120,000
หรือทั้งจำทั้งปรับ
พักใช้ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือเพิกถอน
ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
3 – 10 ปี
60,000–200,000
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพิกถอน




กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใด ๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงบทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร


ข้อความที่ถือว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้บริโภค

  1. ข้อความที่ทำให้เกิดทัศนคติว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จในทางสังคมหรือทางเพศ หรือทำให้สมรรถภาพทางร่างกายดีขึ้น
  2. ข้อความหรือภาพที่มีนักกีฬา
  3. ข้อความหรือภาพที่มีดารา ศิลปิน นักร้อง หรือนักแสดง
  4. ข้อความที่ใช้ภาพการ์ตูน
  5. ข้อความที่ชักจูงหรือโน้มน้าวให้ซื้อหรือบริโภคเพื่อนำรายได้ไปบริจาคเป็นสาธารณกุศล



กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ซื้อและผู้ขาย

อายุของผู้ซื้อและผู้ขาย

  1.  “ผู้ซื้อ” ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  2. “ผู้เสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบริการ. จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

ต้องพกและแสดงบัตรประจำตัว

        ผู้ที่จะดื่มแอลกอฮอล์ได้นั้น จะต้องมีหลักฐานประจำตัวแสดง เพื่อบ่งบอกอายุของผู้ซื้อ มีบัตรที่เห็นรูปถ่ายตัวเอง พร้อมข้อมูลส่วนตัว เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ และบัตรข้าราชการ


กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย

เวลาขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ผับ บาร์ ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าปลีก และร้านขายส่ง จะขายได้ตั้งแต่เวลา 11.00 น. ถึง 14.00 น. และ 17.00 น. ถึง 24.00 น. หากฝ่าฝืน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันเวลาห้ามขายนอกเหนือจากเวลา 

11.00 – 14.00 น. และ  17.00 – 24.00 น.

 ยกเว้นในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติและสถานบริการซึ่งเป็นไปตามกำหนดเวลาเปิดปิดของสถานบริการ

วันพระใหญ่ ประกอบด้วย

  1. วันพระใหญ่
  2. มาฆบูชา
  3. วิสาขบูชา
  4. อาสาฬหบูชา
  5. เข้าพรรษา
  6. ออกพรรษา

ยกเว้น ร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ

ห้ามขายแก่บุคคลดังต่อไปนี้

  1. อายุต่ำกว่า 20 ปี 
  2. เมาจนครองสติไม่ได้

การทดสอบระดับแอลกอฮอล์

วิธีการตรวจสอบมาฝากกัน ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ 

  1. ตรวจวัดจากลมหายใจด้วยเครื่องมือเป่าลมหายใจ หรือ BREATHALYZER 
  2. ตรวจวัดจากปัสสาวะ
  3. ตรวจวัดจากเลือด

จะใช้วิธีที่ 2 หรือ 3 ในกรณีที่ไม่สามารถทดสอบตามวิธีที่ 1 ได้เท่านั้น


สถานที่ห้ามขาย

  1. วัด
  2. สถานพยาบาล ร้านขายยา
  3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
  4. หอพัก
  5. สถานศึกษา
  6. สถานีบริการเชื้อเพลิง
  7. สวนสาธารณะของราชการ
  8. โรงงาน
  9. บริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ 
  10. บนเรือ และท่าเรือสาธารณะ
  11. สถานีขนส่งทางบก
  12. บนรถไฟ และสถานีรถไฟ
  13. พื้นที่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ

ถ้าฝ่าฝืนต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามมิให้มีสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาหรือหอพักในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ทั้งนี้ตาม ข้อ 6 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 22/2558 วันที่ 22 กรกฎาคม 2558



สถานที่ห้ามขาย

  1. วัด
  2. สถานพยาบาล ร้านขายยา
  3. สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร
  4. หอพัก
  5. สถานศึกษา
  6. สถานีบริการเชื้อเพลิง
  7. สวนสาธารณะของราชการ
  8. โรงงาน
  9. บริเวณรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ 
  10. บนเรือ และท่าเรือสาธารณะ
  11. สถานีขนส่งทางบก
  12. บนรถไฟ และสถานีรถไฟ
  13. พื้นที่ในกำกับดูแลและใช้ประโยชน์ของราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ

          ถ้าฝ่าฝืนต้องโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและห้ามมิให้มีสถานที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษาหรือหอพักในบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา ทั้งนี้ตาม ข้อ 6 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 22/2558 วันที่ 22 กรกฎาคม 2558


กรณีที่เป็นสถานบริการหรือสถานประกอบการที่คล้ายคลึงกัน

  1. ห้ามให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์เข้าไปใช้บริการ
  2. ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  3. ห้ามเปิดทำการเกินกว่าเวลาตามที่มีฎหมายบัญญัติ
  4. ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่ากำหนดเวลา
  5. ห้ามให้มีการพกอาวุธ วัตถุระเบิด หรือยาเสพติดเข้าไปในสถานที่ตน
  6. ห้ามก่อความเดือดร้อนรำคาญทางเสียงแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง 
  7. ห้ามให้มีการทำผิดที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์
  8. ห้ามให้มีการเล่นการพนัน

        อ้างอิง คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 22/2558 วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ แห่งชาติที่ 46/2559 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2559

วิธีการขายต้องห้าม

  1. เครื่องขายอัตโนมัติ
  2. เร่ขาย
  3. การลดราคาเพื่อส่งเสริมการขาย
  4. ชิงโชค ชิงรางวัล
  5. แจก แถมให้ หรือ แลกเปลี่ยน
  6. ใช้เครื่องจ่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณร้านค้าสะดวกซื้อ
  7. อื่นๆ (ตามประกาศฯ ที่อาจมีขึ้นในอนาคต)